ตามหลักปรัชญาของ WordPress ผู้ก่อตั้งต้องการให้เป็นซอฟต์แวร์ฟรีหรือที่เรียกว่า opensource เพื่อให้เกิดการแบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จึงมีผู้พัฒนาส่วนเสริมของ WordPress มากมายในรูปของธีม(theme) และปลั๊กอิน(plugin) และอาจมีค่าใช้จ่ายบ้างเล็กน้อยซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นราคาที่พอเหมาะพอสม
WordPress นั้นติดตั้งง่าย ช่วยให้คุณมีเว็บไซต์ได้ในเวลาไม่กี่นาที แล้วควรติดตั้ง plugin อะไรบ้าง เลือกใช้ theme อย่างไรดี แต่ละตัวมีข้อดีข้อเสียอย่างไร การบำรุงรักษาทำอย่างไร การลดความเสี่ยงจากการถูกแฮคทำอย่างไร จะทำ SEO อย่างไร จะทำการตลาดอย่างไร และอะไรอีกมากมายที่คุณอาจต้องการคำตอบหลังจากที่คุณเริ่มมีเว็บไซต์ของคุณ
คอร์สที่คุณอาจสนใจ
WordPress 5 หลักสูตรปี 2020
อีคอมเมิร์ซด้วย WooCommerce
Table of Contents (update Jan 2019)
- การติดตั้ง WordPress
- ทำความเข้าใจกับ WordPress
- ความรู้ทางเทคนิคที่อาจจำเป็น
- การติดตั้งธีม
- การสร้างเพจ(หน้าเว็บไซต์)
- การสร้างโพสต์
- การจัดเลย์เอาท์ให้กับเพจโดยใช้เอดิเตอร์พิเศษ
- การจัดเลย์เอาท์ให้กับเพจโดยใช้ธีม
การติดตั้ง WordPress
การติดตั้ง WordPress มีสองวิธีคือติดตั้งเองซึ่งมีหลายขั้นตอน ถ้าคุณมีเวลาผมแนะนำให้คุณลองติดตั้งเองจากบทความวิธีการติดตั้ง WordPress ด้วยตัวเองเพื่อที่จะได้เข้าใจมากขึ้น วิธีที่สองคือติดตั้งอัตโนมัติซึ่งผมจะกล่าวถึงต่อไป การติดตั้งแบบนี้ง่ายมากเพราะโฮสต์ส่วนใหญ่จะมีเมนูในคุณเลือกติดตั้งทั้ง WordPress และโปรแกรม open source อื่นๆอยู่แล้ว กดเพียงไม่กี่คลิกก็ได้เว็บไซต์แล้ว
การมีเว็บไซต์คุณต้องเริ่มจากการเลือกชื่อเว็บไซต์หรือโดเมนเนมเสียก่อน คุณค้นหาผู้ให้บริการจากคำว่า web hosting หากคุณไม่รู้จะเลือกโฮสต์อย่างไรอ่านที่นี่
เริ่มจากการตรวจสอบว่าชื่อโดเมนทางเทคที่คุณต้องการยังว่างอยู่หรือเปล่า ถ้าว่างก็ให้ทำรายการสั่งซื้อซึ่งจะมีค่าโดเมนเนมประมาณ 400 บาทต่อปี สิ่งที่คุณต้องมีอันที่สองก็คือพื้นที่สำหรับเก็บเว็บไซต์ซึ่งเรียกว่า hosting ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายประมาณปีละ 500 บาทขึ้นไป เมื่อคุณซื้อบริการโดเมนเนมและโฮสต์แล้ว ผู้ให้บริการจะส่งอีเมล์บอกรายละเอียดทั้งหมดของโดเมนเนมและโฮสต์มาให้ คุณจะต้องเก็บรักษาอีเมล์ฉบับนั้นไว้ อย่าลบโดยเด็ดขาด
ขั้นตอนต่อไปก็คือการติดตั้ง WordPress ซึ่งเราจะใช้แบบอัตโนมัติ ให้คุณเข้าระบบหลังบ้านโดยพิมพ์ yourwebsite.com:2222

สังเกตที่ด้านล่างจะมีโลโก้ของ WordPress อยู่ คลิกเลือกแล้วกดปุ่ม Install Now จากนั้นจะปรากฏ
ช่อง Choose Protocol เลือก http:// หรือ https:// (จะเลือก https:// ก็ต่อเมื่อ hosting ที่คุณใช้มี SSL, อ่านนี่)
ช่อง Choose Domain เลือกเว็บไซต์ที่คุณจดโดเมนไว้
ช่อง In Directory ค่าปกติจะเป็น wp ให้คุณลบออกให้ว่างๆซึ่งหมายความว่าต้องการติดตั้งตามปกติ ถ้าใส่ wp จะหมายความว่าเว็บไซต์คุณจะอยู่ที่ yourwebsite.com/wp ถ้าคุณต้องการติดตั้งภายใต้ sub directory อ่านนี่ประกอบ

จากนั้นก็ตั้ง username, password และ email ที่ใช้ในกรณีลืมรหัสผ่านและในกรณีอื่นๆ
Admin Username : ตั้งเป็นคำอื่นที่ไม่ใช่คำสามัญที่เดาง่ายเช่น root, system, superadmin : หรืออะไรทำนองนี้ หรือคำที่คนรู้จักคุณสามารถเดาได้
Admin Password : คุณต้องใส่ใจรหัสผ่านให้ดี ตั้งใจตั้งเพราะว่ามักจะถูกเจาะโดย robot ได้ง่าย ให้คุณเลือกจนขึ้นคำแนะนำว่า Strong
Admin Email : สำหรับระบบจะใช้แจ้งเตือนคุณเมื่อมีเหตุการณ์บางอย่างและใช้เวลาลืมรหัสผ่าน ถ้าต่อไปคุณลืมอีเมล์ด้วย ให้อ่านการแก้ไขปัญหาลืมทั้งรหัสผ่านและอีเมล์
ถัดมาภาษาให้เลือกภาษาเป็น Thai ซึ่งจะทำให้ระบบและเมนูหลังเว็บไซต์เป็นภาษาไทย และการแสดงข้อความต่างๆที่เกี่ยวกับระบบที่หน้าเว็บไซต์เป็นภาษาไทย หากต้องการเมนูหลังเว็บไซต์เป็นภาษาอังกฤษเราจะมาเปลี่ยนภายหลัง
กดปุ่ม Install เป็นอันเสร็จ ให้ logout โดยกดปุ่มลูกศร → มุมขวาบนสุด
เข้าสู่เว็บไซต์โดยการพิมพ์ yourwebsite.com/wp-admin ที่เบราเซอร์ ใส่ username และ password ที่ตั้งเมื่อกี้เข้าไป
พื้นที่ที่เราเข้ามาผ่าน /wp-admin นี้เรียกว่าหน้า backend หรือด้านหลังของเว็บไซต์ ส่วนหน้าที่ผู้ชมเว็บไซต์เห็นตามปกติเรียกว่า frontend
หน้าที่เห็นเรียกว่าเป็น Dashboard พื้นที่ทางขวาจะเป็นคำสั่งที่เราอาจใช้บ่อย และมีการโชว์สถานะของเว็บไซต์และองค์ประกอบอื่นๆที่เพิ่มเติมเข้าไป ยังไม่ต้องซีเรียสกับหน้านี้ ที่เราเกี่ยวข้องคือเมนูทางด้านซ้าย

ก่อนอื่นต้องทำสองสิ่งนี้ก่อน
1. สังเกตว่าเมนูเป็นภาษาไทยเพราะว่าตอนติดตั้งเราเลือกเป็นภาษาไทย จุดประสงค์เพื่อให้ข้อความที่สำคัญๆในหน้า frontend เป็นภาษาไทย แต่ในหน้า backend นี้แนะนำให้ใช้ภาษาอังกฤษเพราะใช้สื่อสารกับคนอื่นง่ายกว่าเวลามีปัญหา

คลิกที่เมนู “ผู้ใช้” ด้านซ้าย คลิกที่ชื่อของเราที่ตั้งไว้ สมมติว่าคือ ufaufo2018 ตรงภาษา เลือก English ตรงชื่อเล่นให้ตั้งเป็นชื่ออื่นที่ไม่ใช่เดียวกับ login (ufaufp2018) ตามตัวอย่างตั้งเป็น jamesbond ตรงช่อง ชื่อที่แสดงให้คนทั่วไปเห็น เลือกเป็น jamesbond เหมือนกัน ทำเช่นนี้เพื่อไม่ให้ google หรือ search engine แสดงชื่อ login จริงของเรา รวมทั้งในโพสต์ที่เราเขียนจะไม่ปรากฏชื่อ login เป็นผู้เขียน แต่เป็น jamesbond ที่เขียน
กดปุ่มอัปเดตข้อมูลส่วนตัวข้างล่างแล้วเมนูทางซ้ายจะเปลี่ยนไปเป็นภาษาอังกฤษ

2. การติดตั้งปลั๊กอินด้านความปลอดภัยเพิ่มเติม เวลาที่เราเข้า backend จะต้องพิมพ์ /wp-admin ต่อท้ายโดเมนเนมซึ่งเป็นที่รู้กันสำหรับคนใช้ WordPress เราต้องเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเพื่อป้องกันการพยายาม login เข้ามา
คลิกที่เมนู Plugins กดปุ่ม Add New ด้านบน ที่ช่องทางขวาพิมพ์คำว่า WPS Hide Admin

คลิกที่เมนู Plugins ทางซ้าย หาปลั๊กอิน WPS Hide Login แล้วคลิก Settings

เลื่อนลงมาล่างสุดตั้งชื่อที่จะใช้แทน wp-admin (ปลั๊กอินเซตคำว่า login ไว้) ตามตัวอย่างเปลี่ยนเป็น letmelogin การทำเช่นนี้เพื่อป้องกันการพยายาม login เข้ามาจากโปรแกรมประเภท robot ซึ่งจะเดาชื่อ login และ password ไปเรื่อยๆจนกว่าจะเข้าได้ ถ้าเปลี่ยน /wp-admin เป็นอย่างอื่น robot ก็จะต้องเดามากขึ้น อ่านลดความเสี่ยงจากการถูกแฮ็คให้ลดลงเพิ่มเติม
จริงๆมีสิ่งที่ต้องเซตอัพมากกว่านี้ แต่เบื้องต้นทำอย่างนี้ก่อนก็ปลอดภัยในระดับหนึ่ง ต่อไปเริ่มต้นสร้างเว็บกันเลย
ทำความเข้าใจกับ WordPress
โดยพื้นฐาน WordPress เป็นระบบที่เรียกว่า Blog หมายถึงเป็นระบบเพื่อการเสนอข่าวสาร (post) ที่มีองค์ประกอบหลักๆสองอย่างคือ Title และ Content ถ้าหากเราต้องการเพียงโปรโมทตัวเองเป็นผู้เขียนบทความหรือ blogger สามารถใช้บริการจากเว็บไซต์ WordPress.com ซึ่งใช้เพียงอีเมล์ก็สามารถสมัครเป็นสมาชิกและมีเว็บไซต์ฟรีโดยไม่ต้องเสียเงินสักบาท และจะได้ชื่อเว็บไซต์เป็น yourchoice.wordpress.com โดย yourchoice เป็นชื่อที่คุณตั้ง แต่จะมีเงื่อนไขบางอย่างจำกัดอยู่ ซึ่งหากยอมเสียเงินรายปีก็สามารถอัพเกรดไปเป็นเว็บไซต์ที่ใช้ได้โดยไม่มีข้อจำกัดและมีโดเมนเนมของตัวเองได้
หากเราไม่ต้องการใช้บริการ wordpress.com ทางผู้ก่อตั้ง WordPress ก็ใจดีเราสามารถเอาระบบ WordPress มาติดตั้งเอง โดยเราเสียเงินเช่าโฮสต์เองซึ่งก็คือระบบอย่างที่เรากำลังทำอยู่ ซึ่งโปรแกรม WordPress สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ wordpress.org
เนื่องจาก WordPress กำเนิดมาจากการเป็นระบบ blog หรือเว็บไซต์เพื่อการเขียนบทความจึงมีสมาชิกที่เป็น blogger ภายใต้ wordpress.com อยู่มากมาย แม้ว่าการใช้ WordPress ในแบบที่ติดตั้งเองจะมีการเติบโตเป็นอย่างมาก แต่มีบริการบางอย่างที่เราจำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิกของ wordpress.com ก่อนจึงจะใช้ได้ ดังนั้นก่อนไปต่อผมขอแนะนำให้คุณสมัครเป็นสมาชิกเอาไว้ก่อนถึงแม้จะได้เว็บไซต์ฟรีที่ไม่ได้ใช้ แต่เราต้องการ account ไปใช้ในบางกรณี
ปลั๊กอิน (plugins)
จุดมุ่งหมายของเว็บไซต์ไม่จำเป็นต้องเป็น blog ซึ่งเป็นความสามารถพื้นๆของ WordPress หากเราต้องการให้มีฟังก์ชันการทำงานอย่างอื่นมากขึ้น เราจะต้องเพิ่มเติมความสามารถของ WordPress โดยการเขียน code เพิ่มเติมเข้าใน ซึ่งในระบบของ WordPress เรียกว่าเป็นการสร้างปลั๊กอิน แต่นั่นเป็นงานของโปรแกรมเมอร์ ในชุมชนของ WordPress มีผู้สร้างปลั๊กอินจำนวนมากมายไว้ให้เราใช้ซึ่งมีแบบทั้งฟรีและเสียเงิน
คุณได้รู้จักปลั๊กอินและการติดตั้งมาแล้วตอนต้น ตัวแรกที่ผมแนะนำไปก็คือ WP Hide Login ซึ่งเปลี่ยนการล็อกอินจาก /wp-admin ไปเป็นคำอื่น ตัวอย่างที่คุณอาจคุ้นเคยดีคือเว็บไซต์ที่ขายของออนไลน์หรือการทำอีคอมเมิร์ซซึ่งต้องอาศัยปลั๊กอินเข้ามาช่วยซึ่งก็คือ WooCommerce แม้แต่ตัวปลั๊กอินเองก็ยังมีปลั๊กอินเสริมเข้าไปอีกด้วยก็ได้
ลูกเล่นที่คุณคุ้นเคยเวลาเข้าเว็บไซต์ต่างๆอย่างเช่นสไลเดอร์ แอนนิเมชั่นต่างๆและอื่นๆอีกมากมายที่ทำให้เว็บไซต์เป็นมากกว่าบทความธรรมดาล้วนแล้วแต่มาจากการเพิ่มปลั๊กอินเข้าไปในระบบ WordPrsss ทั้งสิ้น
ธีม (themes)
สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับเว็บไซต์ก็คือความสวยงาม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดวางเลย์เอาท์ขององค์ประกอบต่างๆ การเลือกสี สไตล์และขนาดของฟอนต์ สิ่งเหล่านี้เรียกว่าเป็นธีมของเว็บไซต์ ซึ่งในระบบของ WordPress สามารถสลับปรับเปลี่ยนได้ เช่นเดียวกับปลั๊กอินในคลังของ WordPress มีปลั๊กธีมฟรีให้เลือกใช้มากมายหรือถ้ายังไม่ถูกใจก็มีธีมขายที่สวยงามในราคาประมาณ 2000 บาทให้เลือกใช้
ความรู้ทางเทคนิคที่อาจจำเป็น
ในทางปฏิบัติ ผู้ที่ทำเว็บไซต์ด้วย WordPress ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางเทคนิคใดๆ แต่ถ้ามีบ้างหรือสนใจศึกษาทางด้านนนี้ก็จะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเว็บไซต์เป็นอย่างมาก สำหรับผู้ที่เคยทำเว็บไซต์ด้วยเครื่องมือยอดนิยมอย่าง Dreamweaver ซึ่งผมเห็นว่าหันมาใช้ WordPress กันเยอะมากอาจจะคุ้นเคยกับเรื่องทางเทคนิคอย่างเช่น HTML, CSS หรือแม้กระทั่งการเขียนโปรแกรมด้วย PHP คุณจะได้รับประโยชน์เต็มๆจาก WordPress เพราะช่วยย่นระยะเวลาในการทำงานอย่างมหาศาลและสามารถต่อยอดได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านเทคนิค ในระยะสั้นคุณไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องเหล่านั้น แต่ในระยะยาวผมคิดว่ามันมีความจำเป็นเพราะจะช่วยให้คุณปรับแต่งเว็บไซต์ได้อย่างสวยงามและมีประสิทธิภาพ เรื่องที่คุณควรจะเรียนเพิ่มเติมก็คือ HTML, CSS, PHP และ MySQL
การติดตั้งธีม
หลังติดตั้ง WordPress 5 ระบบจะติดตั้งธีมมาตรฐานที่ชื่อ twenty nineteen ให้(ซึ่งหน้าตาธรรมดามาก) แต่ถ้าใครอัพเกรดจากเวอร์ชั่นที่ต่ำกว่าก็จะเป็นธีม twenty seventeen ซึ่งมีหน้าตาที่ frontend เป็นแบบนี้

WordPress จะเปลี่ยนธีมมาตรฐานไปทุกปีตั้งชื่อตามปีเช่นปี 2017 จะชื่อ twenty seventeen ยกเว้นปี 2018 ซึ่งไม่มีธีมใหม่ ล่าสุดปี 2019 คือ twenty nineteen ปกติเราจะไม่ใช้ธีมมาตรฐานเพราะลูกเล่นและความสวยงามอาจจะไม่ถูกใจเรา จุดมุ่งหมายของธีมนี้คือใช้เป็นตัว test เวลาที่มีปัญหา คือหากเราใช้ธีมอื่นแล้วเกิดปัญหาบางอย่าง เราก็จะสวิทช์มาที่ธีมมาตรฐาน หากปัญหาอย่างคงอยู่แสดงว่ามีความผิดปกติบางอย่างที่ตัวระบบ
การติดตั้งธีมฟรี
การติดตั้งให้คลิกที่เมนู Appearance → Themes ทางซ้าย จะปรากฏธีมที่ถูกติดตั้งตอนเริ่มต้น ตัวแรกทางซ้ายก็คือธีมที่ใช้งาน(active)อยู่ ซึ่งก็คือ twenty seventeen หากต้องการเปลี่ยนธีมให้กดปุ่ม Add New ด้านบน หรือกดไอคอนรูปบวกตัวโตๆจะขึ้น theme มากมายมาให้เลือก และยังสามารถกำหนดเงื่อนไขในการค้นหาธีมได้ด้วย

ถ้ามีธีมที่ถูกใจก็ให้คลิกปุ่ม Install จากนั้นปุ่มจะเปลี่ยนเป็น Activate ให้กดอีกครั้ง จากนั้นธีมที่เลือกก็จะปรากฏเป็นตัวแรก (ซ้ายบน) สามารถค้นหาธีมได้จาก tab
Featured หมายถึง theme ที่เขาแนะนำ
Popular หมายถึง theme ที่คนนิยมดาวน์โหลดไปติดตั้ง
Lastest หมายถึง theme ที่มาใหม่
Featured Filter หมายถึงให้ค้นหา theme ที่มีคุณสมบัติตามที่เราต้องการ
ธีมฟรีส่วนมากมักจะมีความสามารถจำกัดและมักจะมีข้อเสนอให้ซื้อเวอร์ชัน Pro แต่ก็มีธีมฟรีหลายตัวที่ให้ฟังก์ชันมาเยอะมาพอสมควรส่วนใหญ่มีความสามารถในการปรับแต่งหน้าแรกหรือ home แต่โดยทั่วไปธีมฟรีก็ถือว่าใช้ได้ทั้งนี้ขึ้นกับว่าคุณมีความรู้ทางด้านเทคนิคเช่น HTML, CSS, PHP, Javascript ซึ่งอันนี้เป็นการ customize ในระดับสูงจะไม่กล่าวถึงในที่นี้
การติดตั้งธีมแบบอัพโหลดไฟล์
ธีมฟรีบางตัวจะให้คุณดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของเขาซึ่งจะเป็น zipไฟล์ รวมทั้งธีมซื้อซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในแหล่งซื้อขายธีมรายใหญ่ของ WordPress คือ themeforest.com ซึ่งเมื่อเราสั่งซื้อจะได้เป็น zip ไฟล์เช่นกัน ซึ่งการติดตั้งทำได้สองวิธี
Appearance → Themes → Add New → Upload Theme → Browse เลือกไฟล์ zip ของธีมที่ดาวน์โหลดหรือซื้อมา กดปุ่ม Install Now
ในกรณีที่เป็นไฟล์ซื้อมาไฟล์มักมีขนาดใหญ่ซึ่ง upload โดยวิธีนี้มักจะไม่ผ่านเพราะใช้เวลานาน คุณจะต้องแตก zip ไฟล์แล้ว upload ขึ้นไปบนโฮสต์ด้วยตนเอง
การสร้างเพจ(หน้าเว็บไซต์)
สิ่งแรกที่เราต้องสร้างก็คือ “หน้าเว็บไซต์” ซึ่ง WordPress เรียกว่าเพจ (Pages) คุณคุ้นเคยกับเพจเป็นอย่างดี เวลาที่คุณคลิกที่เมนูที่ส่วนหัว คุณกำลังคลิกเข้าดูแต่ละเพจ ในเบื้องต้นหนึ่งเพจจะผูกอยู่กับลิงค์ที่อยู่ในเมนู แต่คุณสามารถสร้างลิงค์ไปหาเพจโดยไม่ต้องผ่านเมนูก็ได้
คลิก Pages→Add New ใส่ title ตามตัวอย่างคือ Home หรือคำว่าหน้าหลัก (คุณตั้งชื่ออะไรก็ได้) ส่วนของ content ก็ใส่ข้อความเข้าไป บรรทัดไหนที่ต้องการใส่รูปก็เอาเมาส์คลิกที่ตรงนั้นแล้วกดปุ่ม Add Media เลือกรูปที่ต้องการ upload แล้วกดปุ่ม Publish

Permalink
ที่ด้านบนตรงคำว่า Permalink ให้คลิกปุ่ม Edit ให้คุณตั้งชื่อต่อท้าย url ของเพจนั้น ปกติ WordPress จะเอาชื่อไตเติ้ล (ในที่นี้คือ home) มาใส่ให้ แต่คุณสามารถเปลี่ยนเป็นคำอื่นก็ได้ WordPress ใช้คำว่า Permalink ในความหมายเดียวกับ url หรือที่เรามักเรียกกันว่าลิงค์(link)ของเพจ
เมื่อคุณคลิก publish หน้านี้จะถูกเห็นโดย search engine (ถ้าไม่ถูก block) และคนทั่วไปสามารถ หลังจากนั้นปุ่มนี้จะเปลี่ยนไปเป็น Update อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ permalink
การเซตเพจให้เป็นหน้าแรก
คุณต้องบอก WordPress ก่อนว่าคุณต้องการให้หน้าใดเป็นหน้าแรก หรือหน้าที่คนพิมพ์ http://yourwebsite.com ผ่านเบราเซอร์เข้ามา
คลิก Settings→Reading

คลิกถูกที่ A static page ช่อง Homepage จะปรากฏรายชื่อของเพจที่คุณสร้างขึ้น เลือกเพจที่คุณต้องการให้เป็นหน้าแรก ในที่นี้คือ Home ตามที่เราตั้งชื่อไว้ กดปุ่ม Save Changes
การเซตองค์ประกอบของเพจ

กลับไปที่คลิกที่เพจ home ที่สร้างขึ้นมา ทางด้านขวาจะมีกล่องชื่อว่า Publish ซึ่งบอกสถานะของเพจนี้ คลิกเลือกว่าต้องการให้เพจนี้
Published หมายความว่ายอมให้มีการเผยแพร่เพจนี้ ซึ่งหมายความว่าถ้ามีคนคลิกที่ลิงค์ของเพจนี้ก็สามารถเห็นได้รวมทั้ง search engine ด้วย
Pending Review ใช้ในกรณีที่เราผู้ทำเว็บไซต์หลายคน คนที่สร้างหน้านี้อาจจะไม่ใช่ admin ดังนั้นเพจนี้จะยังถูกเผยแพร่คือกดลิงค์เข้ามาก็จะไม่พบ โดยจะต้องได้รับการอนุมัติจาก admin ถึงจะเห็นได้ (จะกล่าวถึงภายหลัง)
Draft หมายถึงเรากำลังร่างหน้านี้อยู่และยังไม่ต้องการให้เผยแพร่ คือถ้าใครรู้จักลิงค์นี้ก็จะไม่พบ ปกติเราจะใช้ตอนที่กำลังสร้างเพจใหม่ๆและยังไม่ต้องการให้ใครเห็น เมื่อพร้อมแล้วจึงเปลี่ยนสถานะเป็น Published หรือถ้าเป็น Published อยู่แล้วต้องการปิดชั่วคราวก็เปลี่ยนกลับมาเป็น Draft

ถัดมาคือการเซต Visibility เป็นการเซตสถานะอีกแบบหนึ่ง
Public เป็นค่า default คือให้โชว์เพจนี้แก่ผู้เข้าชมเว็บไซต์
Password protected คือจะดูเพจนี้ได้จะต้องใส่รหัสผ่าน อ่านเรื่องเกี่ยวกับระบบสมาชิกเพิ่มเติมที่นี่
Private ผู้เข้าดูเว็บไซตต์ทั่วไปไม่เห็นหน้านี้ แต่สำหรับผู้เข้าระบบ backend อยู่จะเห็นเพจนี้ที่หน้าเว็บไซต์
ปกติเมื่อเราสร้างเพจขึ้นมาครั้งแรก จะปรากฏปุ่ม Publish ซึ่งหลังจากนั้นปุ่มนี้จะเปลี่ยนเป็นปุ่ม Update ในขณะที่กดปุ่ม Publish หรือ Update ถ้า Visibility เป็น Public ก็จะถือว่าต้องการเผยแพร่ คนที่คลิกลิงค์เพจนั้นจะเห็นได้ แต่ถ้าเป็น Private แม้จะมีสถานะเป็น Published ก็จะมองไม่เห็นเพจนั้น แต่ถ้าสถานะเป็น Draft หรือ Pending Review ก็จะมองไม่เห็นไม่ว่า Visibility จะเป็นอะไร
Revisions หมายถึงจำนวน copy ของเพจนี้ที่ระบบของ WordPress เก็บเอาไว้ หากต้องการดูก็คลิก Browse ก็จะโชว์หน้าเก่าๆที่มีการแก้ไขตามลำดับ ใช้ตอนที่เราต้องการกลับไปใช้ของเก่าที่เคยบันทึกเอาไว้
Published on ใช้สำหรับแก้ไขวันที่และเวลาของเพจนั้น กับเพจอาจจะไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่แต่มีผลกับโพสต์ (post-ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป) ซึ่งเวลาโชว์โพสต์จะเรียงตามวันและเวลา ถ้าเราต้องการเรียงใหม่ก็ให้มาแก้ตรงนี้
Page Attributes ในช่อง Parent ใช้สำหรับเซตว่าเพจนี้อยู่ภายใต้เพจอะไร ตามตัวอย่างผมสร้างเพจไว้สี่เพจ (ไม่นับ home ซึ่งไม่แสดงเพราะกำลังเปิดเพจนี้อยู่) หากเลือก Front Page หมายความว่าให้เพจ home นี้อยู่ภายใต้ Front Page ปกติให้เซตไว้ที่ no parent การเซต Parent มีประโยชน์เวลาที่คุณมีหลายเพจแล้วคุณต้องการจัดหมวดหมู่ซึ่งเวลาที่เราดูรายการของเพจจะดูง่ายขึ้น

Order ใช้สำหรับเซตว่าต้องการเรียงเพจนั้นอย่างไร เช่นถ้าเราต้องการให้ในเมนูโชว์เพจเรียงตามนี้ Home, บริการ, เกี่ยวกับเรา, ติดต่อเรา ก็ให้เซต Order ของเพจนั้นๆเป็น 0, 1, 2, 3 ตามลำดับ ปกติเราจะเซตตรงนี้และปล่อยให้เป็น 0 ทุกเพจเพราะเราจะไปเรียงในเมนูอีกทีซึ่งจะง่ายกว่า
คลิกเพื่อเซตรูปประจำเพจนี้ ซึ่งตำแหน่งโดยทั่วไปก็จะอยู่ตรงส่วนหัวของเพจ(แล้วแต่ธีม) หรือบางทีอาจจะไม่เซตรูปให้กับเพจเพราะอาจแทรกรูปหลายรูปไว้ในส่วน content แต่ที่จำเป็นก็คือโพสต์(post) ซึ่งในหนึ่งโพสต์มักจะมีรูปภาพหนึ่งรูปกำกับ

ระบบ Menu
เมนูเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของเว็บไซต์ ซึ่งปกติจะมีแถบเมนูอยู่ที่ส่วนหัว แต่ถ้าเรามี content มากเราอาจจะมีแถบเมนูหลายตำแหน่ง ซึ่งการจะมีแถบเมนูกี่ตำแหน่งและอยู่ตรงไหนขึ้นอยู่กับธีมที่ใช้ อย่างเช่นธีมมาตรฐาน twenty seven มีแถบเมนูให้สองตำแหน่ง สมมติว่าเราต้องการสร้างแถบเมนูหลักที่มีลิงค์ดังนี้
Home, บริการ, เกี่ยวกับเรา, ติดต่อเรา
การสร้างแถบเมนูหลัก
คลิก Appearance -> Menus แล้วคลิก create a new menu ในช่อง Menu Name ตั้งชื่อแถบเมนูเช่น mainmenu แล้วกดปุ่ม Create Menu

ทางด้านซ้ายให้คลิกที่ View All จะโชว์เพจทั้งหมดที่เราสร้างขึ้น ก่อนหน้านี้เราสร้างเพจหน้าแรกไว้สองเพจชื่อ “My Home” กับ “หน้าแรก” แต่เราเซตให้เพจที่ชื่อ “หน้าแรก” เป็นหน้าที่ใช้จริง WordPress จะใส่คำว่า Home: นำหน้าให้เป็น “Home: หน้าแรก” เพื่อบอกให้รู้ว่าเราเซตให้ใช้เพจนี้ไว้ ส่วนเพจ “My Home” เราไม่ได้ใช้
ให้คลิกเลือกเพจที่ต้องการสำหรับแถบเมนูที่ชื่อ mainmenu แล้วกดปุ่ม Add to Menu เพจที่เลือกก็จะปรากฏที่กล่องทางขวา ที่ช่อง Menu Settings → Display location ให้คลิกที่ Top Menu เพื่อบอกให้ผูกแถบเมนู mainmenu นี้เข้ากับตำแหน่ง Top Menu
ตำแหน่งของแถบเมนู
ดังงได้กล่าวมาแล้วว่าจำนวนของแถบเมนูและตำแหน่งขึ้นอยู่กับธีมที่เราใช้ ในที่นี้เราใช้ธีมมาตรฐาน twenty seventeen ซึ่งมีแถบเมนูได้สองแถบและอยู่ตำแหน่งบนและล่างของหน้าเว็บไซต์ ซึ่งเรารู้จำนวนแถบเมนูได้จากตรง Display location ซึ่ง twenty seventeen ตั้งชื่อสองตำแหน่งว่า Top Menu และ Social Links Menu ถ้าธีมใดมีแถบเมนูให้สามแถบก็จะมีสามรายการเป็นต้น ส่วนชื่อ (label) ก็แล้วแต่ผู้ออกแบบธีมจะตั้ง ส่วนตำแหน่งที่อยู่ของแต่ละแถบบนหน้าเว็บไซต์เราต้องทดลองดูเอง
การสร้างแถบเมนูที่สอง
ถ้าเราต้องการเมนูอันที่สอง (ซึ่ง twenty seventeen จะอยู่ข้างล่าง) ให้ทำเหมือนเดิมคือคลิก create a new menu แล้วทำการเลือกเพจทางซ้ายใส่เข้าไป ซึ่งอาจจะเป็นเพจที่สร้างใหม่หรือเพจเดียวกับเมนูหลักก็แล้วแต่เรา สังเกตว่าเมนูจะเป็นรูปไอคอนไม่ใช่ข้อความ อันนี้ขึ้นอยู่กับธีมที่ใช้
การสลับเมนู
เมื่อเราสร้างแถบเมนูหลายแถบ ถ้าต้องการเลือกแก้ไขเมนูใดให้คลิกที่ช่อง Select a menu to edit

เลือกเมนูที่ต้องการแล้วกด Select
การแก้ไขเมนู
ถ้าต้องการสลับตำแหน่งเมนูให้เอาเมาส์วางที่รายการที่ต้องการย้าย แล้วลากขึ้นบนหรือลงล่างแล้วปล่อยในตำแหน่งที่ต้องการ ถ้าต้องการทำเป็นเมนูย่อยให้ลากไปทางขวาแล้วปล่อย แล้วกดปุ่ม Save Menu

รายการเมนูก็จะปรากฏเป็น

หากต้องการแก้ไขข้อความให้คลิกที่ปุ่มลูกศรทางขวา แล้วแก้ไข กด Save Menu

Manage Locations

เป็นอีกวิธีหนึ่งในการผูกแถบเมนูที่สร้างขึ้นกับตำแหน่งในธีม
การสร้างโพสต์
โพสต์ (post) หรือบทความเป็นเนื้อหาของเว็บไซต์เช่นเดียวกับเพจ (page) ต่างกันตรงที่โพสต์จะเขียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งต่างกับเพจซึ่งมักจะผูกอยู่กับเมนู(แต่ไม่จำเป็น)ซึ่งนานๆจะเพิ่มจำนวนเพจสักครั้งซึ่งมักจะเป็นการเพิ่มรายการเข้าไปในเมนูด้วย โพสต์มักจะปรากฏในเพจๆหนึ่งภายในเมนูชื่อ “บทความ” หรือ “blog” และรายการโพสต์มักจะแสดงแบบ timeline หรือแบบ grid


การแสดงโพสต์แบบ timeline หรือ grid ขึ้นอยู่กับธีมที่ใช้ สำหรับ twenty seventeen จะแสดงแบบ timeline โดยโชว์ที่หน้าแรกซึ่งโดยทั่วไปเราไม่ต้องการแบบนั้น ในทางปฎิบัติเราจะสร้างเพจใหม่ขึ้นมาเพื่อใช้แสดงรายการโพสต์โดยเฉพาะ รายละเอียดจะกล่าวถึงภายหลัง ตอนนี้เราจะมาเขียนโพสต์กันก่อน
องค์ประกอบของโพสต์
โดยพื้นฐาน เพจกับโพสต์มีโครงสร้างคล้ายกัน องค์ประกอบพื้นฐานคือtitle และ content แต่โพสต์จะมีรายละเอียดอื่นๆประกอบตามประเภทของโพสต์ สร้างโพสโดยการคลิก Posts→Add New

คุณจะเห็นว่าหน้าตาคล้ายๆกับเพจ สังเกตทางขวาจะมีกล่องเซตเพิ่มเติมที่ต่างจากเพจ (ไม่มี Attribute เหมือนเพจ)
Format
ใช้สำหรับเซตว่าโพสต์นี้เป็นประเภทอะไร ปกติจะเซตไว้ที่ Standard ในทางปฏิบัติ format มักจะขึ้นอยู่กับธีมที่ใช้และธีมส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจนำการเซตตรงนี้ไปใช้
Excerpt
ให้คุณลองดูข้างล่างจะเห็นกล่องที่ใช้สำหรับใส่ข้อความสั้นๆแนะนำว่าโพสต์นี้เกี่ยวกับอะไร คุณคงคุ้นเคยกับ excerpt มาพอสมควรเวลาเข้าดูเว็บไซต์ซึ่งมักจะอยู่ใต้รูปและตามด้วยคำว่า Read more หรือ อ่านต่อ

Categories
เราสามารถจัดหมวดหมู่ให้กับโพสต์หรือบทความที่เราเขียน ซึ่งปกติจะถูกเซตไว้ที่ “ไม่มีหมวดหมู่” ให้คลิกที่ +Add New Category พิมพ์ชื่อหมวดหมู่ลงไป แล้วกดปุ่ม Add New Category แล้วคลิกเอาถูกออกตรง “ไม่มีหมวดหมู่”
คุณสามารถเพิ่มหมวดหมู่ได้มากเท่าที่ต้องการ โพสต์ๆหนึ่งอาจจะอยู่ในหลายหมวดหมู่ก็ได้ และเมื่อคุณสร้างโพสต์ใหม่หมวดหมู่ที่คุณสร้างคุณก็จะไปปรากฏเป็นรายการให้เลือกในโพสต์ใหม่ด้วย

หมวดหมู่เป็นสิ่งสำคัญในระบบ blog เพราะเวลาที่เราจะแสดงรายการของโพสต์ไม่ว่าจะเป็นแบบ timeline หรือ grid เราจะต้องเลือกว่าจะโชว์จากหมวดหมู่ใด เช่นถ้าเรามีโพสต์หรือบทความสองหมวดหมู่ เราอาจสร้างเพจไว้สองเพจ(รวมทั้งเพิ่มลิงค์สองอันในเมนู) โดยแต่ละเพจใช้สำหรับโชว์โพสต์ในแต่ละหมวดหมู่
Tags
หากคุณใช้ facebookหรือ instagram คุณคงคุ้นเคยกับ tag หรือ hashtag หรืออะไรก็ตามแล้วแต่จะเรียก หมายถึงข้อความที่คุณกำกับไปกับโพสต์ของคุณ ซึ่งมักเป็นคำง่ายๆที่สื่อถึงสิ่งที่คุณเขียนเช่น #ครีมหน้าใส #โลกสวย แต่สำหรับเว็บไซต์คุณอาจจะเลือกใช้คำที่ดูเป็นทางการหน่อย ซึ่งอาจจะใช้ category เป็น tag ก็ได้


พิมพ์ tag ที่ต้องการโดยคั่นด้วย comma กดปุ่ม Add
Featured Image
เป็นรูปที่กำกับไปกับโพสต์ ซึ่งต่างจากเพจตรงที่รูปเป็นสิ่งจำเป็นเพราะจะถูกนำไปโชว์หน้าเว็บไซต์ และเมื่อคลิกที่รูปก็มักจะลิงค์ไปหาเนื้อหาของโพสต์นั้น

Settings ที่ถูกซ่อนไว้
มีจุดอื่นที่คุณอาจต้องการเซตเพิ่มเติม ปกติ WordPress จะปิดเอาไว้เพราะไม่ต้องการให้รกตา คลิกที่ Screen Options ด้านบน

Custom Fields
ถ้าคุณคลิกที่ Custom Fields จะเป็นการเปิดแท็ปสำหรับการใส่ข้อมูลกำกับโพสต์เพิ่มเติม ปกติโพสต์โดยทั่วไปก็จะมี title และ content เป็นหลัก ซึ่งเราจะใส่ข้อมูลลงไปในส่วนของ content แต่โพสต์บางประเภทเช่นโพสต์ประกาศรับสมัครงานจะมีข้อมูลลักษณะพิเศษเช่น ตำแหน่ง เงินเดือน ขอบเขตของงาน เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถ้าใส่เข้าไปใน content อาจจะไม่สะดวกนักถ้ามีจำนวนโพสต์รับสมัครงานหลายตำแหน่ง(หลายโพสต์) ถ้าในแต่ละโพสต์สามารถแยก ตำแหน่ง เงินเดือน ฯลฯ ออกมาเป็นช่องสำหรับกรอกนอกช่อง content จะสะดวกกว่า ซึ่งช่องเหล่านี้จะเรียกว่า custom fields
คุณจะต้องสร้าง Custom fields นี้กำกับไปทุกโพสต์ที่ต้องการ เช่นถ้าคุณมีโพสต์ประกาศรับสมัครงาน คุณต้องการสร้างช่องสำหรับกรอกตำแหน่งและเงินเดือนกำกับไปกับทุกโพสต์ประกาศรับสมัครงานและคุณสามารถบันทึกข้อมูลลงไปในฟิลด์ที่สร้างขึ้นมานี้ได้ แต่ข้อเสียของ custom fields ที่ WordPress มีมาให้ใช้งานไม่ค่อยยืดหยุ่นเพราะต้องสร้างฟิลด์ซ้ำๆไปกับทุกโพสต์ที่สร้างขึ้นมาใหม่
วิธีที่สะดวกกว่าคือสร้างเป็น Field Group คือเอาฟิลด์พิเศษหลายอันมารวมกันเป็นกรุ๊ป แล้วเอากรุ๊ปไปผูกกับโพสต์ จะทำให้ไม่ต้องเสียเวลาสร้างฟิลด์ใหม่ทุกครั้ง ซึ่งจะต้องอาศัยปลั๊กอิน ที่เป็นที่นิยมได้แก่ Advanced Custom Fields
แต่การจัดเป็น field group ก็ยังไม่สะดวก เพราะถ้าเราสร้างหลาย field group มันก็จะไปปรากฏอยู่ในทุกๆโพสต์ เช่นถ้าเรามีฟิลด์ประเภทประกาศสมัครงานกับฟิลด์ประเภทงานอีเวนท์งาน field group ทั้งสองประเภทก็จะไปปรากฏอยู่ในทุกโพสต์ทั้งๆที่ควรจะปรากฏเฉพาะ field group ที่เกี่ยวข้องกับโพสต์นั้นเท่านั้น WordPress จึงหลักการอีกอันหนึ่งมารองรับคือ Custom Post Type ซึ่งก็คือโพสต์เฉพาะที่ผูกกับ field group ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
Custom Fields และ Custom Post Type เป็นหลักการที่เกี่ยวเนื่องกันและมีรายละเอียดพอสมควรซึ่งในเบื้องต้นคุณยังไม่ต้องสนใจก็ได้ หากสนในสามารถอ่านได้จากบทความเรียนรู้ Custom Post Type และการประยุกต์ใช้งาน
Discussion
เมื่อคุณคลิกจะปรากฏกล่องต่อไปนี้ด้านล่าง

Allow comments สำหรับเปิดให้คน comment โพสต์นี้ที่ใต้บทความได้ ถ้าไม่ต้องการก็คลิกถูกออก
Allow trackbacks and pingbacks เป็นเรื่องที่มีรายละเอียดพอสมควร ในเบื้องต้นคุณไม่จำเป็นต้องสนใจ แต่ถ้าคุณสนใจอ่านความหมายของ pingbacks
Comments
เมื่อคุณคลิกจะปรากฏกล่องต่อไปนี้ด้านล่าง

สำหรับดูว่ามี comment อะไรบ้างสำหรับโพสต์นี้ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องไปดูที่หน้าเว็บ (frontend) หรือคุณอาจจะตอบ comment จากตรงนี้ได้เลยโดยคลิกปุ่ม Add comment
Slug
Slug เป็นคำสุดท้ายที่ต่อท้าย url เช่น
https://webstyleapp.com/webdesign/memoment/2017/12/09/ดูแลสุขภาพ/
ดูแลสุขภาพคือ slug อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ slug

ปกติเมื่อเราสร้างโพสต์ WordPress จะกำหนดให้ slug เป็นคำเดียวกับ title แต่ถ้ายาวเกินไปก็จะตัดออก ถ้าคุณต้องการ slug เป็นคำอื่นก็แก้จากตรงนี้ ปกติ slug จะถูกใช้โดย search engine เพื่อประเมินว่าบทความนั้นเกี่ยวกับอะไร แต่ปัจจุบันถูกลดความสำคัญลง คุณใช้ slug สื่อกับผู้นำลิงค์นี้ไปใช้เพื่อให้รู้ว่าเป็นโพสต์เกี่ยวกับอะไร หากต้องการรู้เกี่ยวกับ slug มากขึ้น อ่านบทความนี้
Author
ใช้สำหรับเซตว่าจะให้ใครเป็นเจ้าของโพสต์นี้ ปกติคนที่ login เข้ามาจะเป็นเจ้าของโพสต์ ในระบบของ WordPress ยอมให้มี user ได้หลายคน ถ้าเราเป็นเจ้าของโพสต์เราอาจโอนให้คนอื่นเป็นเจ้าของโพสต์ก็ได้ ปกติผู้เข้าระบบที่เป็น Administrator จะเป็นเจ้าของโพสต์ทุกโพสต์ร่วมกันคือสามารถแก้ไขหรือลบโพสต์นั้นได้ ระบบ user ของ WordPress อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

Revisions
ระบบของ WordPress จะเลือกเก็บข้อมูลของโพสต์ก่อนบันทึกแก้ไขใหม่ไว้เป็นระยะๆ เผื่อเราต้องการย้อนกลับไปใช้ของเก่า โดยเก็บเฉพาะ title, content และ excerpt ถ้ามีข้อมูลในช่วงเวลาไหนที่คุณอยากจะย้อนไปก็ให้คลิกเลือก

ทางซ้ายเป็นข้อมูลเก่า ทางขวาเป็นข้อมูลปัจจุบัน

โดยทั่วไปคนไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์จาก revision เท่าไหร่ เพราะทำให้สับสนมากกว่า เพราะข้อมูลเดิมที่เก็บอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ต้องการย้อนกลับไป
การจัดเลย์เอาท์ให้กับเพจโดยใช้เอดิเตอร์พิเศษ
เพจและโพสต์ที่สร้างโดยเอดิเตอร์ของ WordPress มีรูปแบบอย่างง่ายๆคือบนลงล่าง มีรูป ไตเติ้ล เนื้อหา ซึ่งไม่มีความสวยงาม เช่นในเพจ “เกี่ยวกับเรา” เราเขียน

ที่หน้าเว็บไซต์จะแสดงเป็น

ซึ่งไม่มีความสวยงาม นี่เป็นตัวอย่างของธีม twenty seventeen เราไม่สามารถปรับแต่งเลย์เอาท์อะไรได้ไม่มาก ซึ่งข้อจำกัดนี้เกิดจากตัวของธีมส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งเกิดจากความสามารถที่จำกัดของเอดิเตอร์ของ WordPress
Gutenberg เอดิเตอร์ตัวใหม่
ใน WordPress 5.0 เอดิเตอร์จะถูกเปลี่ยนไปเป็นแบบใหม่ที่เรียกว่า Gutenberg แต่ในเวอร์ชันต่ำกว่าจะทำมาในรูปปลั๊กอิน ในช่วงรอยต่อระหว่าง 4.9.x และ 5.0 ยังมีคนที่คุ้นเคยกับเอดิเตอร์แบบเก่า (classic editor) อยู่มาก ซึ่งอาจจะยังรับ Gutenberg ซึ่ง build-in มาใช้เวอร์ชั่น 5 ไม่ได้ หากต้องการกลับไปใช้เอดิเตอร์แบบเดิมก็ต้องติดตั้งปลั๊กอิน Classic editor เพิ่มเติมเข้าไป
เพจหรือโพสต์เดิมที่สร้างใน 4.9.x จะถูกบรรจุอยู่ใน tab ชื่อ Classic ดังรูป ซึ่งสามารถแก้ไขได้ตามปกติ แต่ format จะไม่เป็นแบบใหม่ หากต้องการเปลี่ยนเป็นแบบใหม่จะต้องกดปุ่ม Convert to Gutenberg ที่มุมขวาบน

กล่องสำหรับเซตค่าต่างๆแบบ classic ใน Gutenberg จะย้ายไปรวมไว้ทางขวา การเซตก็ทำเหมือนเดิม
คุณจะเห็นว่าหน้าตาของเอดิเตอร์เปลี่ยนไป สิ่งที่เราเคยเขียนขึ้นในเอดิเตอร์มาตรฐานจะถูกใส่ไว้ในแท็บ Classic เอดิเตอร์ของ Gutenberg แตกต่างจากเอดิเตอร์เดิมตรงที่แต่ละย่อหน้า (paragraph) จะถูกสร้างเป็นกล่องเรียกว่า block เราสามารถสร้าง block, แทรก block, ลบ block, ย้าย block ได้ โดยไม่ต้อง copy ข้อความแล้ว paste
ภายใน block ไม่จำเป็นต้องเป็นข้อความ เป็นรูปภาพหรืออื่นก็ได้ คลิกที่เครื่องหมาย + ที่มุมซ้ายเพิ่มเพื่อเพิ่ม block เข้าไป

เลือก Paragraph ถ้าคุณต้องการพิมพ์ข้อความ เลือก Image ถ้าต้องการใส่รูป เลือก Heading ถ้าต้องการใส่ไตเติ้ล และอื่นๆ
Gutenberg มีเครื่องมือแบบง่ายๆที่ช่วยในการวางเลย์เอาท์อยู่ในหมวด Layout Elements ชื่อว่า Columns

จะมี block เพิ่มต่อท้ายซึ่งมีสองช่องเป็นการจัดเลย์เอาท์อย่างง่าย ที่ทางขวาบนของแต่ละ block ซ้ายคลิก Add block จะเป็นการเพิ่ม block ซ้อนเข้าไปใน block ทางซ้าย สมมติว่าเราเลือก Image

ทำเช่นเดียวกัน เอาเมาส์มาลอยที่มุมขวาบนของกล่องซ้ายblock แล้ว Add block ที่เป็นข้อความ (paragraph) เราก็จะได้เลย์เอาท์ที่แตกต่างจากแบบบนลงล่างของ classic editor

หากต้องการเปลี่ยนแปลงอะไรเกี่ยวกับ block ให้เอาเมาส์วางที่ด้านซ้ายตามรูป ถ้าต้องการย้ายขึ้นลงให้คลิกแล้วลาก block นั้นไปวางในตำแหน่งที่ต้องการ ถ้าต้องการคำสั่งอื่นๆเช่นลบ block นี้ให้คลิกที่ … แล้วเลือกคำสั่งที่ต้องการ
block แบบอื่นๆเช่น Button, Quote, Gallery, File และอีกมากมายขอให้คุณลองเล่นดู Gutenberg ยังเป็นของใหม่และจะผนวกเข้าไปใน WordPress เวอร์ชัน 5 ซึ่งเป็นเอดิเตอร์ที่สามารถจัดเลย์เอาท์ได้ที่จะมาแทนเอดิเตอร์แบบ classic
เอดิเตอร์จัดเลย์เอาท์แบบอื่นๆ
ในตลาดของ WordPress มีผู้สร้างเอดิเตอร์ทางเลือกที่ดีกว่าแบบ classic อยู่หลายราย ซึ่งทำมาในรูปปลั๊กอิน เช่น King Composer, Visual Composer, Elementor เป็นต้น
คุณสามารถทดลองใช้ได้โดยการติดตั้งปลั๊กอินเวอร์ชันฟรีซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็หรูหราเพียงพอต่อการใช้งาน หากใช้ไปสักพักหนึ่งแล้วอยากได้ feature เพิ่มก็สามารถซื้อเวอร์ชัน Pro หรือบางทีก็อยู่ในรูป Add on หรือโมดูลที่ต้องซื้อเพิ่ม แต่ถ้าคุณต้องการความเรียบง่าย Gutenberg ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
ปกติการจัดเลย์เอาท์เหมาะสำหรับเพจเพราะต้องมีการออกแบบที่สวยงามจึงจะช่วยดึงดูดความสนใจและดูเป็นมืออาชีพ ส่วนโพสต์มักจะเป็นบทความซึ่งไม่ต้องการการจัดเลย์เอาท์เพื่อดึงดูดความสนใจอะไรมากเพราะเน้นที่เนื้อหา ดังนั้นสำหรับโพสต์คุณอาจปล่อยให้เลย์เอาท์เป็นไปตามธีมที่ใช้
การจัดเลย์เอาท์ให้กับเพจโดยใช้ธีม
ธีมอื่นหลายตัวมีเลย์เอาท์ของเพจให้เลือก ซึ่งต่างจาก twenty seventeen ซึ่งไม่มีให้เลือก ขอให้คุณลองติดตั้งธีมชื่อ Shapely จากค่าย colorlib ซึ่งหากคลิกที่ช่อง Page Attributes จะปรากฏเลย์เอาท์หลายแบบให้เลือก
ปกติเพจที่สร้างใหม่จะมีเลย์เอาท์เป็น Default template ซึ่งมักจะมี sidebar อยู่ทางด้านซ้าย แต่เพจหน้าแรกมักไม่นิยมมี sidebar โดยปกติจะเลือกเป็น Full Width หรือ No Sidebar หรือเลย์เอาท์แบบอื่นๆที่ทางธีมได้ออกแบบไว้ให้ซึ่งคุณจะต้องทดลองเล่นดูเพราะแต่ละธีมจะแตกต่างกันไป
การใช้งาน Sidebar
Sidebar หมายถึงแถบที่อยู่ทางซ้าย ขวา บน หรือล่างในหน้าเว็บไซต์ โดยที่มี content ของโพสต์หรือเพจอยู่ตรงกลาง ภายใน sidebar เราจะวาง widget หรือกล่องข้อความหรือรูปภาพหรืออะไรบางอย่างลงไป การจะมี sidebar อะไรบ้างขึ้นอยู่กับธีมที่ใช้ และการเลือกว่าจะให้โชว์ sidebar อะไรบ้างในแต่ละหน้าก็ขึ้นอยู่กับธีมเช่นกัน (ในช่อง Page Attribute ตามรูปบน)
คลิก Appearance→Widget
ทางด้านซ้ายจะเป็นกล่อง widget เช่น Calendar เป็นปฎิทิน, Pages เป็นรายการลิงค์ของเพจที่เราสร้างขึ้น, Recent Posts เป็นรายการลิงค์ของไตเติ้ลของโพสต์ที่เพิ่งเผยแพร่

ทางขวาจะเป็น sidebar สำหรับธีม Sharply มี sidebar อยู่ 7 ตำแหน่ง ปกติ Sidebar(ตัวแรก) จะอยู่ทางขวา Footer Widget … จะเป็นแถบด้านล่างสุด ธีมนี้จะมีแถบด้านล่าง 4 ช่อง ตำแหน่งที่เหลือขอให้คุณมดลองวาง widget สักตัวลงไป (เช่น Calendar) แล้วดูที่หน้าเว็บไซต์ก็จะรู้ว่า sidebar นั้นอยู่ที่ตำแหน่งใด
การวาง widget ลงใน sidebar ก็เพียงแต่ลาก widget นั้นจากทางซ้ายไปลงตรงช่อง sidebar ที่ต้องการทางขวา โดยไม่ต้องการการ save
WordPress จะมี widget มาตรฐานให้จำนวนหนึ่ง ธีมและปลั๊กอินหลายตัวเพิ่มเติม widget บางอย่างมาให้